Tanapon Panthasen

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนภณ พันธเสน

ความเชี่ยวชาญและความสนใจในการสอน วิจัย และให้คำปรึกษา

  • การออกแบบ การบริหารงานก่อสร้าง และการจัดการทรัพยากรอาคารบ้านพักอาศัยส่วนบุคคล และอาคารขนาดใหญ่
  • การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย ชุมชน และเมืองแบบยั่งยืน
  • การเติบโตอย่างชาญฉลาด และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน
  • การอนุรักษ์พลังงาน และสังคมคาร์บอนต่ำ

วุฒิการศึกษา

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สหวิทยาการ – ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบยั่งยืน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2549) วิทยานิพนธ์เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบยั่งยืน: จากกระบวนทัศน์อัตตาสู่บูรณาการ (ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย)
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารงานก่อสร้าง) มหาวิทยาลัยนานาชาติฟลอริด้า (Florida International University) สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2538)
  • สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรม) เกียรตินิยมอันดับ 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (พ.ศ. 2532)

ประสบการณ์ทางวิชาการ

งานประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

  • หัวหน้าสาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม (กุมภาพันธ์ 2557 – กันยายน 2557 เนื่องจากการปรับโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัย)
  • รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบริการสถาปัตยกรรมศาสตร์ (พฤศจิกายน 2552-ตุลาคม 2556)
  • กรรมการและเลขานุการหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม (ภาคพิเศษ) (ตุลาคม 2551 ถึงปัจจุบัน)อาจารย์ประจำ (พฤษภาคม 2551 ถึงปัจจุบัน)
  • วิชาที่สอน: ระเบียบวิธีวิจัย เคหะการและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน วัสดุและเปลือกอาคาร การประสานระบบอาคาร การออกแบบสถาปัตยกรรมยั่งยืน วิทยานิพนธ์

งานประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • ประธานสาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (พ.ศ. 2550) รับผิดชอบการพัฒนาหลักสูตรและเปิดหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
  • อาจารย์ประจำ (กรกฎาคม 2549 ถึงเมษายน 2551)
  • วิชาที่สอน: วิทยานิพนธ์ การบริหารจัดการเชิงบูรณาการในงานออกแบบสถาปัตยกรรม การบริหารงานก่อสร้าง การบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร การบริหารการตลาดอสังหาริมทรัพย์ การจัดการโครงการทางสถาปัตยกรรม และการประเมินสภาพแวดล้อมอาคาร
  • รองผู้จัดการศูนย์บริการนวัตกรรมการผังเมืองและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (พ.ศ. 2550)

อื่น ๆ

  • นักวิจัยในระยะสั้น (Visiting Researcher) ที่คณะสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (School of Built Environment) มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดบรู๊คส์ (Oxford Brookes University) สหราชอาณาจักร และที่บริษัทที่ปรึกษาเออร์เบิร์น โซลูชั่น (Urban Solutions BV) เนเธอร์แลนด์ (พ.ศ. 2548)
  • นักวิจัยในระยะสั้น (Visiting Researcher) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยบอลล์สเตท (Ball State University) และสถาบันบูรณาการศึกษาแห่งแคลิฟอร์เนียร์ (California Institute of Integral Studies) สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2547)

ประสบการณ์ทางวิชาชีพ (ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ระดับภาคีสถาปนิก)

  • สถาปนิก งานออกแบบและการบริหารงานก่อสร้างบ้านพักอาศัยส่วนบุคคล (พ.ศ. 2533 ถึงปัจจุบัน)
  • หัวหน้าแผนกอาคารสถานที่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: งานบริหารจัดการอาคารสูง 18 ชั้น 1 ชั้นใต้ดิน (พ.ศ. 2542 ถึง 2544)
  • วิศวกรก่อสร้าง (ประจำโครงการเอ็มไพร์ ทาวเวอร์ส ถ.สาธร) บริษัท เบ๊คเทิล อินเตอร์เนชันแนล (Bechtel International, Inc.): งานบริหารงานก่อสร้างอาคารโครงสร้างเหล็กสูง 60 ชั้น 6 ชั้นใต้ดิน (พ.ศ. 2538 ถึง 2542)
  • สถาปนิก บริษัท เบรนเนียร์ จำกัด: งานออกแบบโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และงานจัดการสำนักงานสถาปนิก (พ.ศ. 2535 ถึง 2536)
  • สถาปนิก (ประจำโครงการโครงการฟิฟตี้ฟิฟต์ ถ.สุขุมวิท 55) บริษัท ออล อินทาเนียร์ซิสเทมส์ จำกัด: งานบริหารงานก่อสร้างอาคารสูง 35 ชั้น 1 ชั้นใต้ดิน และงานออกแบบโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (พ.ศ. 2533 ถึง 2535)

ผลงานโครงการฝึกอบรม

จัดโครงการในนามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หัวหน้าโครงการฝึกอบรมและดูงาน หลักสูตร “การวางผังอย่างยั่งยืนสำหรับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น”

(Sustainable Planning for Local Administration – SPA)

  • หัวข้อ “เมืองที่ดีกว่า เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” วันที่ 9-12 ตุลาคม 2553 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
  • หัวข้อ “การอยู่ร่วมกันของมหาสมุทรและมนุษย์ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ” วันที่ 16-20 พฤษภาคม 2555 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
  • หัวข้อ “การสร้างหุ้นส่วนใหม่เพื่อการเติบโตอย่างชาญฉลาด ในสหรัฐอเมริกา” (Making New Partners for Smart Growth in the USA) วันที่ 6–14 กุมภาพันธ์ 2556
  • หัวข้อ “การพัฒนาระบบขนส่งคาร์บอนต่ำสำหรับชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน” วันที่ 4-8 เมษายน 2556 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
  • หัวข้อ “การพัฒนาระบบขนส่งคาร์บอนต่ำสำหรับชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน” วันที่ 4-8 เมษายน 2556 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
  • หัวข้อ “รถไฟสายความสุข ผสานวิถีชีวิตและเศรษฐกิจจากรางสู่เมือง” วันที่ 21-28 ตุลาคม 2556ณ ประเทศญี่ปุ่น
  • หัวข้อ “การสร้างหุ้นส่วนใหม่เพื่อการเติบโตอย่างชาญฉลาด ในสหรัฐอเมริกา” (Making New Partners for Smart Growth in the USA) วันที่ 12 – 24 กุมภาพันธ์ 2557
  • หัวข้อ “การสร้างหุ้นส่วนใหม่เพื่อการเติบโตอย่างชาญฉลาด ในสหรัฐอเมริกา” (Making New Partners for Smart Growth in the USA) วันที่ 26 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2558

จัดโครงการในนามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • หัวหน้าโครงการโครงการอบรมกลยุทธ์การพัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ในยุคแห่งการแข่งขัน (TU.) ปี 2549 -50 รวม 3 รุ่น

ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และนำเสนอในที่ประชุมวิชาการ (บางส่วน)

  • วิลาสินี ม่วงเกตุ และธนภณ พันธเสน. (2559) “การประเมินแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่บางกะเจ้าจังหวัดสมุทรปราการเพื่อกำหนดรูปแบบสาธารณูปโภคสำหรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”. การประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, วันที่ 22 กรกฎาคม 2559. เชียงใหม่ : 116 ถึง 127.
  • อมราภรณ์ วงศ์มา และธนภณ พันธเสน. (2559) “คุณค่าของการปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นบูทีคโฮเทล ด้วยการออกแบบตามแนวคิดการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม และอสังหาริมทรัพย์แบบยั่งยืน”. การประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, วันที่ 22 กรกฎาคม 2559. เชียงใหม่ : 105 ถึง 115.
  • พูลสุข นิยมไทย และธนภณ พันธเสน. (2559) “การประยุกต์แนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน เพื่อการออกแบบโครงการผสมผสานการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตดินแดง”. การประชุมวิชาการสถาปัตยกรรมและการออกแบบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 จัดโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, วันที่ 22 กรกฎาคม 2559. เชียงใหม่ : 94 ถึง 104.
  • ธนภณ พันธเสน, ฐาปนา บุณยประวิตร, และสุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์. “การออกแบบการใช้ที่ดินและอาคารกลุ่มพาณิชยกรรมผสมผสานที่อยู่อาศัยและสถานที่สาธารณะพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่ 3 ปี 2559, จัดโดย สมาคมการผังเมืองไทย และองค์กรอื่น ๆ. วันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2559. กรุงเทพมหานคร : 21 ถึง 76.
  • ธนภณ พันธเสน. รายงานผลการศึกษาดูงานเรื่อง การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางตามโครงการฝึกอบรมและดูงาน หลักสูตรการวางผังอย่างยั่งยืนสำหรับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2557 รุ่นพิเศษระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2557. สาขาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน 2557)
  • ธนภณ พันธเสน. (2557) “เกณฑ์การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ตามแนวทางเมืองเขียวของเกาะ
    สมุย”.
    ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการผังเมืองครั้งที่ 2 ปี 2557, จัดโดย สมาคมการผังเมืองไทย และองค์กรอื่น ๆ. วันที่ 18-20 มิถุนายน 2557. กรุงเทพมหานคร : 9-1 ถึง 9-22.
  • ธนภณ พันธเสน. (2556) “การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการผังเมืองครั้งที่ 1/2556, จัดโดย สมาคมการผังเมืองไทย และ Smart Growth Thailand. วันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2556. กรุงเทพมหานคร : 73-112.
  • Panthasen, T., and Lambregts, B. (2013) “Green Culture as the Driving Force of Green Residential Development in the Suburbs of Bangkok” in the Asian Conference on Cultural Studies, organized by The International Academic Forum (IAFOR) in conjunction with its global partners, including the Cultural Studies Association of Australasia at the Ramada Osaka, May 24-26, 2013 (Oral Presentation).
  • ธนภณ พันธเสน. (2555) “การจัดการอาคารเขียว” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา 31402 การจัดการทรัพยากรอาคาร สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
  • อารยา ศานติสรร และ ธนภณ พันธเสน. (2554) “การมีส่วนร่วมของชุมชนหมู่บ้านจัดสรรชีววิถีในการบำบัดน้ำเสียเพื่อลดภาวะโลกร้อนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ในการประชุมวิชาการระดับชาติเรื่อง ประเทศไทยกับภูมิอากาศโลก ครั้งที่ 2 CTC 2011 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์สู่เศรษฐกิจสีเขียว วันที่ 19 สิงหาคม 2554 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ปากเกร็ด นนทบุรี.
  • Tanapon Panthasen. (2011) “Thailand and the World Movement of Green Building” in Chula Global Network, Chulalongkorn University. Fostering Economic Growth through Low Carbon Initiatives in Thailand.
  • ธนภณ พันธเสน และ อารยา ศานติสรร. (2554) “ความพร้อมอย่างบูรณาการของชุมชนหมู่บ้านจัดสรรในการมีส่วนร่วมบำบัดน้ำเสียแบบชีววิถี” ใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 49 เล่มที่ 7 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554 : 173-180
  • ฐาปนา บุณยประวิตร และธนภณ พันธเสน. (2553) “การปรับปรุงผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 เพื่อหยุดยั้งการกระจัดกระจายของเมือง” ใน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 48 เล่มที่ 7 สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553 : 154-161.

ผลงานวิจัย (บางส่วน)

  • ธนภณ พันธเสน และคณะ. (2561) การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบยั่งยืนในย่านนวัตกรรมศรีราชาตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด. ทุนสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
  • ธนภณ พันธเสน และคณะ. (2560) การวางผังและการพัฒนาเมืองเพื่อการจัดทำแผนแม่บทการจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศไทย. ทุนสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย.
  • ธนภณ พันธเสน และคณะ. (2561) การวางผังแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในเขตเทศบาลนครระยอง. ทุนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
  • ธนภณ พันธเสน และคณะ. (2561) การวางผังแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินในการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตามเกณฑ์การเติบโตอย่างชาญฉลาด. ทุนกรมโยธาธิการและผังเมือง ผ่านบริษัท เอสไอเอ็ม เทคโนโลจิสต์ จำกัด.
  • ธนภณ พันธเสน และคณะ. (2558) การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในเขตเทศบาลนครระยอง. เงินรายได้ส่วนกลาง มก.
  • ธนภณ พันธเสน ฐาปนา บุณยประวิตร และคณะ. (2557-2558) การมีส่วนร่วมของประชาชนและการคาดการณ์ที่อยู่อาศัยในการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลก. (โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดพิษณุโลก ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วม). ทุนกรมโยธาธิการและผังเมือง ผ่านบริษัท Asia Planning Consultants Co.,Ltd.
  • ธนภณ พันธเสน ฐาปนา บุณยประวิตร สุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์ และคณะ. (2557-2558) การจัดทำผังแม่บทเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวคิดการเติบโตอย่างชาญฉลาด (Smart Growth) และความเป็นผู้นำในการออกแบบด้านพลังงานและรักษาสภาวะแวดล้อมระดับย่าน (LEED ND) ทุนการเคหะแห่งชาติ.
  • ธนภณ พันธเสน และสุภาพร แก้วกอ เลี่ยวไพโรจน์. (2556-2557) การประยุกต์ใช้ระบบจักรยานสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดตามแนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ย่านสุขุมวิท. ทุนอุดหนุนวิจัย มก.
  • ธนภณ พันธเสน และสุปณิตา มั่นเจริญ. (2556-2557) สถาปัตยกรรมและอสังหาริมทรัพย์ที่เหมาะสมในการปรับปรุงผังเมืองรวมชุมชนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เสนอต่อเทศบาลเมืองเกาะสมุย. (โครงการปรับปรุงผังเมืองรวมชุมชนเกาะสมุย ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและที่อยู่อาศัย)
  • Tanapon Panthasen and Supanita Munchareon. (2012) Town Structure Planning for Koh Samui’s Low-Carbon Development: Visualization and Adaptation of Green Areas and 4Rs. (as a part of APEC Low Carbon Model Town (LCMT) Project Phase 2, submitted to Asia-Pacific Economic Cooperation)
  • อารยา ศานติสรร และ ธนภณ พันธเสน. (2555) โครงการวิจัยเรื่อง “โครงการหมู่บ้านจัดสรรชีววิถีในการบำบัดน้ำเสียเพื่อลดภาวะโลกร้อนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. – เป็นผู้วิจัยร่วม
  • ธนภณ พันธเสน และคณะ. (2555) โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการบ้านบุณฑรีก์” เสนอต่อบริษัท ชยางพัทธ์ พร็อพเพอร์ตี จำกัด.
  • ธนภณ พันธเสน และคณะ. (2555) โครงการวิจัยเรื่อง “โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามเส้นทางรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต” เสนอต่อการเคหะแห่งชาติ.

เกียรติประวัติและงานที่สร้างชื่อเสียง

  • “อาจารย์ผู้มีผลงานตีพิมพ์ดีเด่นแห่งปี” ในสาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 25522553 และ 2556
  • “ผลงานวิจัยดีเด่น” Tanaporn Wongdontree, TanaponPanthasen, and PrathurngHongsrangon. (2009) “Long Stay Resort for the Retired Elders according to the Sufficiency Economy and the Sustainable Architecture Design” in the Proceeding of RSU Research Conference 2009, 2 April 20.
  • “ผลงานวิจัยดีเด่น” เรื่อง “The Transformation Process towards the Sustainable Real Estate Development“ ในการประชุมทางวิชาการของนักเรียนไทยในประเทศฝรั่งเศสและในภาคพื้นยุโรป ประจำปี พ.ศ. 2548 (The Academic Conference of Thai Students in France and in Europe 2005) ระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2548 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
  • “ผู้เสนอผลงานวิจัยดีเด่น” เรื่อง “Facilitation a Sustainable Development in Real Estate Industry” ในการประชุมวิชาการ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ครั้งที่ 7 วันที่ 20-22 เมษายน 2549 ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
  • ทุนการศึกษาต่างประเทศระดับปริญญาเอก จากโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

กิจกรรมทางสังคมและวิชาการ

  • สมาชิกสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สมาชิกสภาสถาปนิก
  • สมาชิกสมาคมนักวิจัย แห่งประเทศไทย
  • กองบรรณาธิการวารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรมฯ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ฉบับการผังเมือง การจัดการ และภูมิสถาปัตยกรรม(พ.ศ. 2550-2551)

การติดต่อ

ภาควิชานวัตกรรมอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

50 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

โทร 0 2942-8960 โทรสาร 0 2942-8960 ต่อ 202

อีเมล tanaponpan@yahoo.com, tanaponpan@gmail.com, tanapon.p@ku.ac.th